" />

ฝีดาษลิง ตุ่มผื่นหนอง เชื้อไวรัส โรคระบาด ที่ทั่วโลกต้องจับตาเฝ้าระวังการแพร่พันธุ์

ฝีดาษลิง ตุ่มผื่นหนอง เชื้อไวรัส โรคระบาด

จากการที่ได้มีข่าวการ แพร่ระบาดอย่างต่อเนื่องในหลายๆ ประเทศทั่วโลก จนล่าสุดก็พบในประเทศไทยแล้วหนึ่งราย กับโรคฝีดาษลิง หรือ ฝีดาษวานร จนหลายคนเริ่มจะสงสัยและกังวลแล้วว่าจะแพร่ระบาดหนักหรือไม่ จะเป็นแบบไวรัสโคโรน่าอีกหรือไม่ และสาเหตุของการเกิดโรคฝีดาษลิงนี้ เกิดขึ้นได้อย่างไร มีอาการร้ายแรงขนาดไหน พร้อมวิธีรับมือเมื่อติดเชื้อที่นำมาฝากกัน

โรคฝีดาษลิง คืออะไร

โรคฝีดาษลิง คืออะไร

สำหรับ โรคฝีดาษลิง หรือ ฝีดาษวานร (Monnkeypox Virus) เป็นเชื้อไวรัสที่มีความใกล้เคียงกับโรคอีสุกอีใสและไข้ทรพิษ แต่จะมีความรุนแรงน้อยกว่า ซึ่งผู้ติดเชื้อจะมีอาการ คือ มีไข้ มีตุ่มผื่นหนองกระจายทั่วตัว และต่อมน้ำเหลืองโต โดยมีการแพร่ระบาดครั้งแรกจากแอฟริกาที่เมืองคองโก ด้วยการสัมผัสกับสัตว์ป่าต่างถิ่น ซึึ่งหากมีอาการดังกล่าวตามที่ระบุไว้ หรือพบอาการผิดปกติอื่นๆ ควรรีบปรึกษาแพทย์

โรคฝีดาษลิง ถือเป็นโรคที่มีการพบการระบาดครั้งแรก 60 ปีก่อน มีถิ่นกำเนิดในประเทศคองโก ซึ่งได้พบการติดเชื้อจากสัตว์ตระกูลลิง ในห้องแล็ปทดลอง โดยเชื่อไวรัสตัวนี้ยังสามารถแพร่กระจายได้กับสัตว์ตระกูลฟันแทะ เช่น กระรอก หนู หรือ กระต่าย จัดเป็นโรคตระกูลเดียวกับฝีดาษที่เคยเกิดขึ้นในคนมาแล้ว หรือโรคไข้ทรพิษ

การแบ่งสายพันธุ์ของโรคฝีดาษลิง

  1. สายพันธุ์แอฟริกากลาง จะมีความรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้
  2. สายพันธุ์แอฟริกาตะวันตก จะมีความรุนแรงน้อยกว่าและเป็นสายพันธุ์ที่กำลังระบาดอยู่ตอนนี้

การติดต่อของโรคฝีดาษลิง หรือโรคฝีดาษวานร

การติดต่อของโรคฝีดาษลิง

โรคฝีดาษลิง ฝีดาษวานร เป็นโรคติดต่อที่สามารถแพร่กระจายได้ง่าย ซึ่งการติดต่อจะแบ่งเป็น 2 ประเภทหลัก คือ การติดต่อจากสัตว์สู่คน เกิดจากการสัมผัสโดยตรง ทั้งจากสารคัดหลั่งและตุ่มหนองของสัตว์ที่มีการติดเชื้อ การถูกสัตว์ติดเชื้อข่วนหรือกัดจนเกิดรอยแผล รวมไปจนถึงการรับประทานเนื้อสัตว์ที่มีเชื้อ และการปรุงอาหารที่ไม่สุกเพียงพอ

สำหรับประเภทที่สอง คือ การติดต่อจากคนสู่คน หรือมีการสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยโรคฝีดาษลิง ทั้งจากทางสารคัดหลั่ง จากการสัมผัสผิวหนังที่เป็นตุ่ม หรือละออกฝอยจากการจาม ไอ หายใจ ซึ่งผู้ป่วยติดเชื้อจะมีอาการป่วยแสดงให้เห็นระหว่าง 2-4 สัปดาห์ โดยผู้ป่วยส่วนใหญ่จะหายจากโรคได้เอง และอาการรุนแรงส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นกับเด็ก และขึ้นอยู่กับปริมาณเชื้อไวรัสที่ได้รับ

ระยะการฟักตัวของเชื้อไวรัสฝีดาษลิง

ระยะเวลาในการฟักตัว หลังจากติดเชื้อจนถึงช่วงที่เริ่มแสดงอาการ เป็นเวลา 7-21 วัน โดยจะมีอาการแบ่งได้เป็น 2 ระยะ คือ ระยะก่อนผื่นชึ้น 0-5 วัน จะมีไข้ ปวดหัวมาก ต่อมน้ำเหลืองโต อาการปวดหลังปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ และอ่อนเพลีย ส่วนระยะผื่นขึ้น เริ่มภายใน 1-3 วัน หลังจากมีไข้ โดยตุ่มผื่นขึ้นบนใบหน้าและแขนขาจำนวนมากกว่าลำตัว ผื่นขนาด 2-10 มิลลิเมตร ช่วง 2-4 สัปดาห์จะสามารถเกิดตุ่มได้ทั้งตัว ลามถึงเยื่อบุช่องปาก ตา กระจกตา และอวัยวะเพศ

แนวทางการรักษาโรคฝีดาษลิง

แนวทางการรักษาโรคฝีดาษลิง

ในปัจจุบันยังไม่มีการรักษาโรคฝีดาษลิงได้แบบจำเพาะโดยตรง แต่จะเป็นการรักษาที่เน้นการบรรเทาอาการ เพื่อควบคุมไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อน โดยมีผลสำรวจที่พบว่า โรคฝีดาษลิง มีอัตราการเสียชีวิตชยู่ที่ 1-10% เท่านั้น ซึ่งถือว่าต่ำกว่าโรคไข้ทรพิษอยู่มาก แต่อย่างไรแนะนำว่าให้สังเกตตนเอง เฝ้าระวังอาการ และรีบเข้ารับการรักษา เพราะหากรักษาไม่ทันเชื้อในร่างกายก็มีโอกาสที่ร้ายแรงมากขึ้นได้

สำหรับผู้ที่สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยโรคฝีดาษลิง หรือฝีดาษวานร ทางศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค (CDC) แนะนำให้มีการฉีดวัคซีนภายใน 4 วัน หลังจากที่ได้สัมผัส เพื่อป้องกันการติดต่อ และการฉีดวัคซีนภายในช่วง 14 วัน จะช่วยลดความรุนแรงของโรคได้ ปัจจุบันมีการผลิตวัคซีนที่ใช้เฉพาะสำหรับโรคฝีดาษลิง คือ วัคซีน Ankara โดยถือเป็นวัคซีนที่มีผลข้างเคียงน้อยกว่าวัคซีนของโรคไข้ทรพิษ

แนะนำการป้องกันโรคฝีดาษลิง

  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสสารคัดหลั่ง เลือด และตุ่มหนองของสัตว์
  • หากไปในพื้นที่เสี่ยงติดเชื้อให้เฝ้าระวังอาการภายใน 21 วัน
  • หลีกเลี่ยงการทานเนื้อสัตว์ที่ยังไม่ผ่านการปรุงสุก
  • ไม่นำสัตว์ป่ามาเลี้ยงเอง
  • หมั่นล้างมือเป็นประจำ

ฝีดาษลิงมีโอกาสแพร่ระบาดเหมือน Covid-19 หรือไม่

ฝีดาษลิงมีโอกาสแพร่ระบาดเหมือน Covid-19 หรือไม่

สำหรับผู้ที่มีความกังวลใจว่า โรคไข้ฝีดาษลิง มีโอกาสกลายเป็นโรคระบาดทั่วโลกเหมือนเช่นเดียวกับ Covid-19 หรือไม่ คำตอบคือ มีโอกาสเกิดขึ้นได้น้อยกว่า เนื่องจากลักษณะของการแพร่เชื้อ ต้องผ่านการสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยเป็นหลัก และการติดเชื้อผ่านละอองฝอยขนาดใหญ่เกิดขึ้นได้น้อยกว่ามาก แต่อย่างไรก็ตามอาจต้องเฝ้าระวังและติดตามข้อมูลข่าวสารอย่างใกล้ชิดต่อไป

ในด้านของการควบคุมโรค กรณีที่ได้มีการแพร่ระบาดของเชื้อจากคนไปสู่สัตว์นั้น ทำให้การควบคุมเป็นไปได้ยากมากขึ้น โดยเฉพาะกับสัตว์กลุ่มฟันแทะ ที่ถือเป็นแหล่งเพาะเชื้อตามธรรมชาติที่เกิดขึ้นได้อยู่แล้ว โดยข้อมูลปัจจุบันตอนนี้ยังไม่มีรายงานที่พบว่าเชื้อไวรัสกลุ่มสัตว์ฟันแทะเกิดขึ้นในประเทศไทย

แชร์เนื้อหานี้
Tags