" />

หาวบ่อย ง่วงนอน พักผ่อนไม่เพียงพอ สัญญาณเตือนโรคร้ายที่คุณอาจไม่รู้ตัว

หาวบ่อย ง่วงนอน พักผ่อนไม่เพียงพอ

สำหรับการ หาว ถือเป็นเรื่องปกติของมนุษย์เรา แม้กระทั่งสิ่งมีชีวิตอย่างสัตว์ต่างๆ เช่น สุนัข แมว ลิง เสือ สิงโต ฯลฯ ก็ต้องหาวเป็นปกติตามสภาวะของร่างกายที่ต้องการการพักผ่อน แต่ประเด็นสำคัญอยู่ที่ มนุษย์เรามีอาการหาวที่ผิดปกติ หรือ การหาวบ่อย มีอาการหลายครั้งติดต่อกันจนผิดสังเกต หรือหาวมากกว่า 1 ครั้ง ภายใน 1 นาที อาจเป็นสัญญาณของโรคต่างๆ ที่คุณอาจไม่เคยรู้มาก่อน

การหาว คืออะไร

การหาว คืออะไร

การหาว เป็น หนึ่งในปฏิกิริยาของร่างกายที่จะแสดงพฤติกรรมการอ้าปาก จากนั้นจะสูดหายใจเข้าลึก ซึ่งอาจเกิดจากการถูกกระตุ้นด้วยความเหนื่อยล้า ความง่วง หรืออาการเมื่อยล้า เป็นกิริยาที่เกิดขึ้นโดยอัตโนมัติของร่างกายที่บางครั้งก็ไม่สามารถควบคุมได้ เนื่องจากร่างกายต้องการออกซิเจนเพิ่มมากขึ้น การหาวจึงทำให้ออกซิเจนสูบฉีดภายในเส้นเลือดได้ดีขึ้น

นอกจากนี้ การหาว ในบางครั้งอาจเกิดขึ้นจากการพบเห็น การพูดถึง หรือเห็นผู้อื่นหาว ซึ่งเป็นแนวคิดที่เกิดจากการที่มนุษย์คิดร่วมกัน นั่นคือ การหาวตามๆ กัน ชื่อเรียกทางการแพทย์ คือ contagious yawn เป็นอาการที่แสดงถึงการสื่อสารทางสังคมของมนุษย์ชนิดหนึ่ง ดังนั้นหากรู้สึกว่าหาวตามใคร เห็นผู้อื่นหาวแล้วหาวตามด้วยอาจไม่ใช่ความผิดปกติจากโรคใดๆ ก็ได้

ทำไมบางครั้ง หาวบ่อย เกิดจากอะไร

หาวบ่อย เกิดจากอะไร

อาการเหนื่อยล้า อ่อนเพลีย ที่เกิดจากความง่วง การพักผ่อนที่ไม่เพียงพอ สามารถเกิดขึ้นได้จากระยะเวลาของการนอนหลับที่อาจสั้นจนเกินไป หรือเกิดขึ้นได้จากการนอนหลับที่ไม่มีคุณภาพ เช่น ภาวะความเครียด ความกังวล หรือภาวะการหยุดหายใจขณะนอนหลับ ส่งผลทำให้ร่างกายได้รับออกซิเจนที่ไม่เพียงพอในช่วงที่หลับ

การหาวบ่อยอาจจะเป็นจุดเริ่มต้นของโรคร้ายแรงอื่นๆ ในอนาคตได้ การนอนหลับที่ไม่เพียงพอจะส่งผลต่อร่างกายมากมาย เช่น การไม่มีสมาธิ การตอบสนองกับสิ่งต่างๆ ได้ช้าลง อาจรู้สึกอยู่ไม่สุข อารมณ์เซื่องซึม ไม่อยากทำอะไร เหนื่อย เพลีย ปวดเมื่อยล้าร่างกาย หากคุณมีอาการหรือสงสัยว่ามีภาวะนี้อยู่หรือไม่แนะนำว่าควรปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญ ในการทดสอบการนอนหลับ

การหาวผิดปกติเกิดจากโรคทางกายอื่นได้ดังนี้

  1. ภาวะเลือดออกรอบหัวใจ หรือโรคหัวใจ กล้ามเนื้อหัวใจจะได้ออกซิเจนไม่เพียงพอ จึงมีอาการเจ็บแน่นหน้าอก หายใจไม่อิ่ม คลื่นไส้ หน้ามืด
  2. มะเร็ง หรือก้อนเนื้อภายในสมอง การกดเบียดส่งผลให้เนื้อสมองรับออกซิเจนไม่พอ จึงต้องหาวเพื่อเพิ่มออกซิเจนให้กับร่างกาย
  3. โรคหลอดเลือดสมอง ส่งผลให้เนื้อสมองได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ อาจมีอาการชา อ่อนแรง หรือวิงเวียนร่วมด้วย
  4. โรคลมชัก เป็นกระแสประสาทที่ผิดปกติในหลายส่วนของสมอง ไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ และหาวออกมา
  5. โรคปลอกประสาทอักเสบ เส้นประสาทส่วนต่างๆ ร่างกายเสียหาย ไม่สามารถควบคุมได้ หรือความเหนื่อยเพลียและควบคุมอุณหภูมิร่างกายไม่ได้
  6. ภาวะตับวาย มักพบในผู้มีอาการรุนแรง เนื่องจากอ่อนเพลีย มีปัญหาการนอนหลับ
  7. ภาวะร่างกายไม่สามารถควบคุมอุณหภูมิได้ โดยนักวิทยาศาสตร์ค้นพบว่าการหาวเป็นวิธีช่วยให้ร่างกายควบคุมอุณหภูมิได้

แก้อาการ หาวบ่อย ด้วยตัวเองง่ายนิดเดียว

แก้อาการ หาวบ่อย

สำหรับผู้ที่มีอาการหาวแบบผิดปกติ หาวได้บ่อยๆ หรือมากกว่า 1 ครั้งใน หนึ่งนาที อาจจะลองใช้วิธีที่แก้ไขไดด้วยตัวคุณเอง ง่ายๆ คือ การสูดหายใจลึกๆ ซึ่งเป็นวิธีที่ช่วยเพิ่มออกซิเจนให้กับร่างกาย ส่งผลให้ช่วยลดการหาวได้ในผู้ที่มีอาการหาวเกิดขึ้นจากการที่ร่างกายขาดออกซิเจน หรือต้องการออกซิเจนที่เพียงพอในการหมุนเวียนโลหิต

นอกจากนี้ การหาวแบบติดต่อจากผู้อื่น เห็นผู้อื่นแล้วหาวตามกัน แก้ไขได้ด้วยการขยับร่างกาย เคลื่อนไหวร่างกาย เพื่อเป็นการกระตุ้นการทำงานของระบบประสาทและสมอง ส่งผลช่วยลดอาการหาวทั้งจากความเหนื่อยล้า ความเครี่ยด อาการเบื่อ หรืออาจใช้วิธีเพิ่มความเย็นกับร่างกายอย่างการพาตัวเองไปอยู่ในที่ที่มีอุณหภูมิเย็น อากาศถ่ายเท การดื่มน้ำเย็นหรือทานอาหารว่างเย็นๆ ก็ช่วยให้หาวลดลงได้

แนวทางการรักษาอาการหาวบ่อย

รักษาอาการหาวบ่อย

หากคุณรู้คัวว่ามีอาการหาวบ่อย หาวผิดปกติ อย่าปล่อยไว้นานเกินไป เพราะอาจส่งผลต่อโรคร้ายแรงต่างๆ ตามมาในภายหลังได้ เช่น ภาวะเลือดออกบริเวณหัวใจ การเกิดโรคหัวใจ โรคมะเร็ง ก้อนเนื้อภายในสมอง โรคหลอดเลือดสมอง โรคลมชัก โรคปลอกประสาทอักเสบ ไปจนถึงภาวะตับวาย จุดเริ่มต้นการหาวเพียงเล็กน้อยแต่อาจเป็นสัญญาณเตือนโรคต่างๆ เหล่านี้ได้อย่างชัดเจนทีเดียว

อย่างไรก็ตาม ลักษณะของการหาวที่เกิดจากการนอนหลับหรือพักผ่อนไม่เพียงพอ คามเหนื่อยล้า สามารถทานวิตามินเสริมเพื่อช่วยลดอาการเหนื่อยล้าของร่างกายได้ ปกติแล้วการหาวถือเป็นกลไกตามธรรมชาติของร่างกายมนุษย์ เราหาวได้ถือเป็นเรื่องปกติในทุกวัน แต่หากรู้สึกผิดปกตินั่นเป็นการแสดงถึงโรคบางอย่างได้ ดังนั้นจึงต้องเน่นการรักษาที่ต้นเหตุจะดีที่สุด

รักษาอาการหาวบ่อย

  • การหาวที่พักผ่อนไม่เพียงพอ เหนื่อยล้า สามารถทานวิตามินเสริมได้
  • การหาที่เกิดจากปัญหาการนอน ให้พบแพทย์เชี่ยวชาญด้านการนอนหลับเพื่อขอคำแนะนำ
  • การหาวที่เกิดจากยา พบแพทย์เพื่อพิจารณาลดขนาดยา หรือหยุดยาที่ไม่จำเป็น
  • การหาวจากโรคทางกายอื่นๆ รับการวินิจฉัยจากแพทย์ รับคำแนะนำการรักษาที่โรคต้นเหตุ
แชร์เนื้อหานี้
ป้ายกำกับ